โรงเรียนบ้านชัฏหนองหมี

หมู่ 4 บ้านชัฏหนองหมี ต.ท่าเคย อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี 70180

Mon - Fri: 9:00 - 17:30

061-421-0160

โรงเรียนบ้านชัฏหนองหมี

นางสาวมนัญญา แย้มอรุณ
ผู้อำนวยการ
โรงเรียนบ้านชัฏหนองหมี

Previous slide
Next slide

ประวัติ โรงเรียนบ้านชัฏหนองหมี

ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ โดย นายเฉลียว ปิ่นแก้ว เป็นครูใหญ่คนแรก เดิมยังไม่มีอาคารเรียนต้องอาศัยศาลาการเปรียญเป็นที่เรียน ต่อมาได้รับเงินผันจากสภาตำบลเพื่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวบนที่ดินบริจาคของประชาชนประมาณ ๖ ไร่ ๙๐ ตารางวา พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลสร้างอาคารเรียนถาวรจำนวน ๕ ห้องเรียน แบบ ป.๑ก จำนวนเงิน ๓๓๐,๐๐๐ บาท และบ้านพักครู ๑ หลัง ราคา ๖๕,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๒๓ อาคารเรียนชั่วคราวถูกพายุพัดพัง รัฐบาลให้งบประมาณ ๓๔๙,๒๕๐ บาท สร้างอาคารเรียนถาวรแบบ ป.๑ก จำนวน ๓ ห้องเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ นายวานิษย์ บุญประเสริฐ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ นางอ้อยทิพย์ เกตุสวัสดิสมคร ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ นายชาญณรงค์ แก้วมณี ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ นางอรวรรณ แดงประดับ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นางสาวพรรณภัสสร ทรัพย์มั่นคงทวี ดำรงตำแหน่งครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นายทวี พรหมมา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชัฏหนองหมีจนถึงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๖
ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นายฉัตรชัย กิตติรุ่งสุรรณ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชัฏหนองหมี
ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นางสาวพินธุ์ บานบุรี รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นางสาวมนัญญา แย้มอรุณ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชัฏหนองหมี

โรงเรียนบ้านชัฏหนองหมีวิสัยทัศน์ / ปรัชญา

“โรงเรียนบ้านชัฏหนองหมี จัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะการใช้เทคโนโลยี น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

โรงเรียนบ้านชัฏหนองหมี พันธกิจ / เป้าประสงค์

1. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กในเขตบริการอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม
4. สนับสนุนกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมไทย
5. พัฒนานักเรียนของโรงเรียนให้มีคุณลักษณะใฝ่เรียน ใฝ่รู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
6. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
7. พัฒนา วิชาชีพครูและบุคลากรให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

กิจกรรมโรงเรียน
นานาสาระ

5 เครื่องมือสำหรับผู้พิการ

ผู้พิการ คือ บุคคลที่มีข้อจำกัดบางอย่างในการใช้ชีวิตหรือข้อจำกัดในการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นที่มีความสมบูรณ์  ซึ่งสาเหตุอาจมาจากความบกพร่องทางการมองเห็น การฟัง การเคลื่อนไหว การสื่อสาร และอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทางใดทางหนึ่ง  เราคงไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้สูญเสียได้มากเท่ากับตัวผู้สูญเสียเอง แต่เราสามารถเลือกที่จะเข้าใจถึงความลำบากของพวกเขาเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้ วันนี้ผู้เขียนจะพาทุกคนไปรู้จักอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้มีความบกพร่องทางร่างกายหรือผู้มีความพิการทางร่างกายสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติด้วยตัวเองอย่างคนทั่วไปได้ ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอ 5 อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้พิการ

1.ไม้เท้าขาว(White Cane)

เมื่อพูดถึงสิ่งที่อยู่คู่กับคนตาบอดนั่นก็คือ ไม้เท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้เท้าสีขาว ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สากลของคนตาบอด ไม้เท้าเป็นอุปกรณ์ซึ่งใช้ในการนำทางของคนตาบอด ไม่ให้ไปชนกับของขวางทาง อีกทั้งยังใช้ในการระบุว่าพื้นผิวหรือความสูงต่ำของพื้นเป็นเช่นไร เพื่อช่วยลดอุปสรรคและอุบัติเหตุในการเดิน  แต่ก่อนที่จะสามารถใช้ไม้เท้าได้นั้น ผู้ตาบอดต้องได้รับการฝึกฝนอย่างหนึ่ง เรียกว่า ความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว Orientation and Mobility Instructor หรือ Peripatologist เพื่อฝึกใช้ไม้เท้าจนสามารถตรวจสอบระบุได้ว่าเส้นทางด้านหน้านั้นปลอดภัยหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้ไม้เท้าได้รับความปลอดภัยในการเดินทางและป้องกันการชนกับสิ่งกีดขวาง ซึ่งในประเทศไทยนั้นจะนิยมใช้ไม้เท้าที่พับได้ มีน้ำหนักเบาพกพาสะดวก

2.อักษรเบรลล์ (Braille)

เป็นตัวอักษรสำหรับผู้พิการทางสายตาโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นจุดสองแถวแนวตั้ง และสามแถวแนวนอนรวมกัน 6 จุด โดยจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า สเลต (Slate) คือไม้บรรทัดสำหรับการวางเพื่อเป็นแบบในการเขียนอักษรเบลล์ให้ตรงเสมอกันเพื่อไม่ให้ผู้อ่านอักษรเกิดความสับสน และดินสอ (Stylus)เอาไว้จุดให้เกิดการนูนเป็นจุด ๆ หากพิมพ์จะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เบรลเลอร์ (Brailler)  ส่วนกระดาษที่ใช้จะเป็นกระดาษหนาขนาดกระดาษวาดรูปซึ่งมีความหนาในระดับที่รองรับการวาดอักษรเบรลล์ลงไปได้โดยที่กระดาษไม่ขาดและเพื่อรองรับจุดนูนขึ้นตามรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งอักษรเบรลล์จะมีรูปแบบ 63 แบบ จากนั้นกำหนดให้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแทนตัวอักษรใดอักษรหนึ่ง ส่วนวิธีการอ่านให้ใช้มือลากสัมผัสไปจากทางซ้ายไปขวา หากเป็นคนตาบอดแต่กำเนิดจะใช้เวลาเรียนรู้ประมาณ 2-3 เดือน แต่หากเป็นผู้ที่เพิ่งพิการทางสายตาจะใช้เวลาเรียนขั้นต่ำประมาณ 6 เดือน 

3.อวัยวะเทียม(Prosthesis)

อวัยวะเทียม หมายถึงอุปกรณ์ที่มีลักษณะเลียนแบบอวัยวะของมนุษย์ เช่น ขาเทียม แขนเทียม หรือนิ้วเทียม เพื่อใช้ในการแทนที่อวัยวะที่หายไปของคนๆนั้น และช่วยให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น อย่างขาเทียม แม้ไม่มีกลไกอะไรมากแต่ก็สามารถให้ผู้สวมขาเทียมเดินได้อย่างคนปกติ โดยไม่ต้องเพิ่งพาเครื่องมืออื่นช่วย ณ ปัจจุบันหลายบริษัทได้ผลิตขาเทียมที่ใช้ในการวิ่ง หรือกีฬาผาดโผนได้ แน่นอนว่าประสิทธิภาพดีเยี่ยมเลยทีเดียว ในกรณีแขนเทียมหรือนิ้วเทียมนั้นจะมีกลไกที่สามารถให้แขนเทียมขยับท่าง่ายๆได้ โดยพื้นฐานจะใช้แรงจากไหล่ ปัจจุบันแขนเทียมมีวิวัฒนาการจนสามารถเชื่อมต่อเข้าโดยตรงกับระบบเส้นประสาท จนขยับนิ้วมือได้อย่างใจนึกแล้ว

4.วีลแชร์ (Wheelchair)

 คือเป็นเก้าอี้ที่มีล้อมักถูกใช้กับผู้ที่ไม่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ของสำหรับผู้พิการที่สูญเสียขาโดยเฉพาะ แต่เป็นตัวช่วยสำหรับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาตหรือมีปัญหาในการเดินปกติเนื่องจากอาการป่วยหรือบาดเจ็บก็สามารถใช้ได้เช่นกัน วีลแชร์ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเดินทางด้วยตัวเองได้ หากผู้นั้นยังพอใช้มือ ใช้แขนได้ หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้เช่นกันโดยให้อีกคนหนึ่งเป็นผู้ดันหรือเข็น ประเภทของวีลแชร์มีหลากหลายแบบแล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เช่น รถเข็นสำหรับพกพา รถเข็นระบบไฟฟ้า หรือรถเข็นแบบที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก รถเข็นสำหรับเด็ก รถเข็นสำหรับเข้าห้องน้ำ เป็นต้น

5.เครื่องช่วยฟัง(Hearing Aid)

อุปกรณ์ช่วยสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการรับฟังเสียงที่ดีขึ้น ในบ้างครั้งผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้ยินเสียงคลื่นรบกวนที่ดังในหู เครื่องช่วยสามารถลดอาการนี้ได้เช่นกัน และยังช่วยยับยั้งอาการหูบกพร่องไม่ให้แย่ลงกว่าเดิมได้ ซึ่งเครื่องช่วยฟังมีหลายชนิด ได้แก่

1) เครื่องช่วยฟังพกพาหรือแบบกระเป๋า (Pocket aid ) เวลาใช้ต้องเหน็บไว้ข้างตัวหรือใช้กระเป๋าพกพาจากนั้นก็ต่อสายเข้ากับเครื่องเสียบหูเพื่อใช้งาน มีข้อดีที่ขนาดใหญ่พอดีมือราคาจะถูกกว่าแบบอื่น มีประสิทธิภาพสูง อะไหล่หาง่าย อย่างไรก็ดีเนื่องจากต้องต่อสายจากตัวเครื่องที่ต้องพกติดตัว จึงเคลื่อนไหวได้ไม่ดีนัก อีกทั้งตัวเครื่องไม่สามารถแยกเสียงซ้ายขวาได้ และเป็นจุดสังเกตได้ง่าย จึงไม่เป็นที่นิยมนัก

2) เครื่องเหน็บทัดหลังใบหู (Behind the ear hearing aid)   ขนาดพกพาง่าย สะดวกต่อการใช้งานเพราะไม่มีสายยาวพะรุงพะรัง เพียงแค่เกี่ยวไว้ที่หูง่ายๆ สามารถแยกเสียงซ้ายขวาได้ เหมาะสำหรับผู้มีอาการหูหนวกไม่รุนแรงจนถึงขั้นร้ายแรง แต่เนื่องจากขนาดปุ่มปรับเสียงเล็กผู้ใช้อาจใช้งานลำบาก ข้อเสียอีกอย่างคือด้านราคาซึ่งจะแพงขึ้นหากเป็นผู้บกพร่องทางหูทั้งสองข้าง และอะไหล่ค่อนข้างหายาก

3)เครื่องขนาดเล็กใส่ในหูแบบสั่งทำเอง ( Custom- made hearing aid ) เป็นแบบที่ทำมาเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลโดยจะใส่ไว้ในหู เสียงที่ได้ยินจะมีความสมจริงใกล้เคียงกับผู้ปกติทางการได้ยิน แต่การปรับแต่งเครื่องจะยากขึ้นเช่นกัน เพราะเครื่องมีขนาดเล็ก และราคาสูงมากเพราะต้องสั่งทำเป็นพิเศษ อีกทั้งเหมาะสำหรับเพียงผู้บกพร่องทางการได้ยินไม่มากหรือผู้มีปัญหาระยะเริ่มต้นเท่านั้น

4) เครื่องช่วยฟังแบบแว่นตา ( Eyeglasses hearing aid ) เป็นของทำขึ้นพิเศษเฉพาะตัวเช่นกัน โดยจะประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแว่น และมีราคาสูงเพราะมีขนาดเล็กกว่าสามแบบที่กล่าวไป

5) เครื่องช่วยฟังแบบรับเสียงข้ามหู ( Contralateral Routing Of Signal ) หลักการของเครื่องช่วยฟังนี้คือ จะดักจับเสียงจากข้างที่ผู้ป่วยหูหนวก ส่งมายังหูอีกข้างที่ปกติ และทำการปรับเปลี่ยนเสียงให้ผู้ป่วยสามารถฟังแล้วรู้สึกถึงเสียงที่มาจากซ้ายขวาได้อย่างปกติ เหมาะสำหรับผู้ที่หนวกเพียงข้างเดียว มีราคาแพงมากและขนาดเล็กที่สุดในบรรดาเครื่องช่วยฟังแบบอื่น ๆแม้ร่างกายของเราไม่ครบหรือเหมือนกับคนอื่น แต่สิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตในแต่ละวันไม่ได้มีเพียงร่างกายที่ครบสามสิบสองส่วนเท่านั้น จิตใจที่เข้มแข็งพร้อมสู้กับวันพรุ่งนี้เองก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตได้ในทุก ๆวันเช่นกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์